คำแนะนำจากกรมสรรพากร เพื่อการป้องกันข้อมูลแสดงตัวตนของคุณ

Warning:
This information may not apply to the current year. Check the content carefully to ensure it is applicable to your circumstances.
End of attention
1 ให้ทราบว่าควรจะป้องกันอะไรบ้าง
ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณเป็นกุญแจสำคัญสู่การเป็นตัวตนของคุณ คุณทราบหรือไม่ ว่าคุณจำเป็นต้องป้องกันอะไร และมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง?
ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ ได้แก่
- ชื่อเต็ม
- วันเดือนปีเกิด
- ที่อยู่ปัจจุบัน
- หมายเลขบัญชีธนาคาร
- รายละเอียดบัตรเครดิต
- หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (TFN)
- รายละเอียดใบอนุญาตขับขี่
- รายละเอียดหนังสือเดินทาง
วีดิโอนี้มีความความยาวประมาณ 106 วินาที กดปุ่ม Play บนภาพ เพื่อชมหรืออ่านสำเนาข้อความ สำเนาข้อความมีให้เป็นภาษาไทย
2 คุณควรแชร์ข้อมูลของคุณหรือไม่?
คุณควรแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณกับคนที่คุณไว้วางใจ หรือกับองค์กรที่มีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลนั้นอย่างถูกกฎหมายเท่านั้น
โจรที่ขโมยข้อมูลส่วนตัว บางครั้ง สามารถหลอกให้คุณมอบรายละเอียดได้ โดยอ้างว่าคุณชนะการชิงรางวัล หรือหลอกอ้างว่าเป็นตัวแทนของมูลนิธิและมาขอเงินบริจาคจากคุณ
3 เก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในสถานที่ปลอดภัย
หลีกเลี่ยงการพกพาเอกสาร เช่น สูติบัตร หรือหนังสือเดินทางในกระเป๋าเงิน หรือกระเป๋าสะพาย ยกเว้นคุณจำเป็นต้องใช้เอกสารเหล่านั้น อย่าเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี รหัสลับ และรหัสผ่านที่เป็นหมายเลขต่างๆ ไว้ในมือถือของคุณ
อย่าวางหนังสือจดทะเบียนต่างๆ ทะเบียนรถที่หมดอายุ ใบเรียกเก็บเงินค่าสาธารณูปโภค หรือกุญแจบ้านสำรอง ในช่องเก็บของหน้ารถของคุณ แม้ว่าจะเป็นในขณะรถล็อกอยู่ก็ตาม ให้ใช้ตู้จดหมายที่สามารถล็อกได้ หรือใช้ตู้จดหมายที่ไปรษณีย์ หากคุณเป็นผู้รับไปรษณียภัณฑ์เป็นจำนวนมากเป็นประจำ
ให้ย่อยหรือทำลายเอกสารที่มีข้อมูลส่วนบุคคลทุกชิ้น
ระมัดระวังในสิ่งที่คุณพูดในที่สาธารณะ - โจรที่ขโมยข้อมูลส่วนตัวสามารถได้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณได้อย่างง่ายดาย โดยการแอบฟังบทสนทนาทางมือถือของคุณ และบทสนทนาของคุณกับเพื่อนๆ
4 การเริ่มงานใหม่
ให้มอบหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (TFN) ของคุณกับนายจ้างคนใหม่ หลังจากที่คุณได้เริ่มต้นงานใหม่นั้นๆ แล้วเท่านั้น
ระวังเล่ห์กลลวงของการว่าจ้างงาน - เล่ห์กลลวงเหล่านี้ มีไว้เพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคล และ/หรือข้อมูลทางการเงินของคุณ การโฆษณาเหล่านี้อาจมาในรูปอีเมล คำโฆษณาบนกระดานประกาศหรือทางออนไลน์ พวกนี้อาจเป็นฉากหน้าของการฟอกเงินก็ได้
สัญญาณเตือนที่แสดงให้เห็นว่า การเสนอว่าจ้างงานนั้นๆ อาจเป็นกลลวงได้ ได้แก่
เพียงเพราะการโฆษณาแอบอ้างว่าเป็นตัวแทนของบริษัท ไม่ได้หมายความว่าโฆษณานั้นมาจากบริษัทนั้นจริง ยกตัวอย่างเช่น บริษัทที่มีชื่อเสียง และ/หรือที่มีขนาดใหญ่ จะไม่ใช้ที่อยู่อีเมลแบบฟรีในการโฆษณาของบริษัท
หากคุณมีความกังวล ให้หมั่นตรวจสอบอยู่เสมอ และ
- อย่าคลิกลิงค์ใดๆ ในโฆษณาหรืออีเมล
- ใช้เวลาในการค้นหารายละเอียดอย่างเป็นทางการของบริษัทตามหนังสือโทรศัพท์หน้าขาว (White Pages) และโทรศัพท์สอบถามบริษัทเกี่ยวกับตำแหน่งงานนั้นๆ
5 ห้ามแชร์หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีบนสื่อโซเชียลเด็ดขาด
หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (TFN) ของคุณนั้น เป็นของคุณตลอดชีวิต มีบุคคลบางคนเท่านั้นที่มีสิทธิ์จะถามหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของคุณได้ ซึ่งได้แก่ กรมสรรพากร หน่วยงานขององค์กรรัฐอื่นๆ เช่น เซ็นเตอร์ลิงค์ กองทุนซุปเปอร์ของคุณ ธนาคาร หรือสถาบันการเงิน
6 ให้เปลี่ยนรหัสผ่านใดๆ ที่คุณได้เคยแชร์ไป
รหัสผ่านควรเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะสำหรับคุณเอง ทางที่ดีที่สุดในการปกป้องตนเองก็คือ ห้าม แชร์รหัสผ่านเด็ดขาด แต่หากคุณเคยแชร์รหัสผ่านของคุณไปแล้ว ให้แน่ใจว่า คุณได้เปลี่ยนและอัปเดตรหัสผ่านเหล่านั้นอยู่เป็นประจำ
7 ปกป้องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ของคุณ
ใช้เวลาในการติดตั้งซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยที่ทันสมัยบนคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ของคุณ
8 ให้แน่ใจได้ว่า ตัวแทนยื่นภาษีของคุณนั้น เป็นตัวแทนที่จดทะเบียนแล้ว
คุณสามารถตรวจสอบด้วยภาษาอังกฤษ เพื่อดูว่าตัวแทนการยื่นภาษี(Tax Agent) ของคุณนั้น เป็นตัวแทนที่ขึ้นทะเบียนหรือไม่ โดยไปที่เว็บไซต์ของคณะกรรมการผู้ปฏิบัติการด้านภาษี (Tax Practitioners Board) ที่ tpb.gov.au/onlineregister
ข้อควรจำ
มีเพียงตัวแทนยื่นภาษีที่จดทะเบียนแล้วเท่านั้น ที่สามารถเรียกเก็บค่าบริการจากคุณได้ในการเตรียมการและยื่นแบบภาษีเงินได้ของคุณ